การส่องกล้องหลอดลม (Bronchoscopy)
- หมอวินัย โรคปอด
- Mar 14, 2019
- 1 min read

การส่องกล้องตรวจทางเดินหายใจด้วยกล้อง ( bronchoscope ) คือหัตถการที่แพทย์ใช้กล้องขนาดเล็กที่มีความยืดหยุ่นสูง ( flexible) แสดงภาพขึ้นบนจอแบบละเอียดสูง ( high definition)
เพื่อตรวจหาและสำรวจความผิดปกติของระบบทางเดินหายใจ เพื่อการตัดชิ้นเนื้อในการวินิจฉัยโรค
เพื่อการรักษา ติดตามการรักษา
ซึ่งในปัจจุบันการส่องกล้องตรวจ หลอดลมชนิดนี้ได้มีการพัฒนาทั้งวิธีการและเครื่องมือ เพื่อช่วยให้หัตถการได้ข้อวินิจฉัยที่ถูกต้องแม่นยำและ ปลอดภัยสำหรับผู้ป่วยมากขึ้น การส่องกล้องตรวจหลอดลมนั้นเป็นการตรวจที่มีความปลอดภัย พบภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้น้อย ซึ่งผู้ป่วยจะได้รับประโยชน์จากการส่องกล้องเพื่อการวินิจฉัยโรค
ข้อบ่งชี้ของการส่องกล้องหลอดลม
ผมขอแบ่งคนไข้เป็นสองกลุ่ม ในชีวิตจริงเพื่อให้เข้าใจง่าย
กลุ่มแรกคือกลุ่มที่ไม่มีอาการแต่เอกซเรย์ปอดพบความผิดปรกติ เช่น เอกซเรย์ปอดพบ ความผิดปกติในรูปแบบ:

จุด (nodule)
ก้อน ( mass) ตอนเดียวหรือหลายก้อน
ฝ้า( ground grass opacity )
ปื้น ( consolidation)
ซึ่งต้องขอย้ำว่ากรณีที่ไม่มีอาการ แพทย์จะต้องอาศัยการซักประวัติ ประเมินความเสี่ยง ประวัติสูบบุหรี่ ประวัติครอบครัว ประวัติอาชีพ ประวัติการสัมผัสผู้ป่วยโรคปอด และตรวจร่างกาย เป็นต้น เพื่อคาดคะเนความน่าจะเป็นของโรคและวางแผนการวินิจฉัยและติดตาม ผู้ป่วยกลุ่มนี้ ไม่จำเป็นต้องรับการส่องกล้องทุกราย แต่จะประเมินเป็นรายๆตามความเหมาะสมและข้อบ่งชี้
กลุ่มที่สอง คือกลุ่มที่มีอาการหรือมีประวัติของโรคปอดและทางเดินหายใจอยู่เดิม แต่ไม่สามารถวินิจฉัยจากการตรวจเบื้องต้นได้ หรือรักษาแล้วอาการไม่ดีขึ้น เช่น กลุ่มอาการดังต่อไปนี้ :

ไอเรื้อรัง
ไอเป็นเลือด
ไอมีเสียงดัง( stridor or wheeze)
ปอดอักเสบ ปอดติดเชื้อ เป็นซ้ำๆ
ปอดติดเชื้อเป็นมากขึ้น ที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาฆ่าเชื้อ
ปอดอักเสบในผู้ป่วยที่พี่ภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรือทานยากดภูมิเป็นประจำ
ประเมินระยะของโรคมะเร็งปอด
ประเมินการแพร่กระจายของมะเร็งมาที่ปอด
มีก้อนที่ปอดที่สงสัย มะเร็งปอด วัณโรคปอด หรือการอักเสบของปอด เป็นต้น
สงสัยภาวะก้อนในหลอดลม ภาวะหลอดลมตีบแคบ หรือภาวะกระดูกอ่อนหลอดลมบกพร่อง
ขั้นตอนการส่องกล้องและดูแลผู้ป่วยขณะส่องกล้อง
ขณะทำการส่องกล้องตรวจหลอดลม ผู้ป่วยจะได้รับการพ่นยาชาบริเวณจมูกและลำคอซึ่งจะทำให้รู้สึกชาและกลืนลำบาก และระหว่างการส่องกล้องผู้ป่วยจะได้รับการวัดความดันโลหิต ชีพจรและระดับออกซิเจนในเลือดตลอดเวลาเพื่อความปลอดภัย

การส่องกล้องนั้นส่วนใหญ่จะทำในท่านอนราบ ใส่สายให้ออกซิเจนทางจมูก มีผ้าคลุมตัวและปิดตาเพื่อป้องกันการเปื้อน ในบางกรณีอาจจะมีการให้ยานอนหลับทางเส้นเลือดดำก่อนการส่องกล้อง
แพทย์จะใส่กล้องสำหรับการตรวจเข้าทางจมูกข้างหนึ่งหรือทางปาก ผ่านลำคอและกล่องเสียงเข้าไปยังหลอดลม ซึ่งในขณะส่องกล้องผู้ป่วยอาจรู้สึกอึดอัดบ้าง และจะมีการพ่นยาชาผ่านทางกล้องเข้าไปในหลอดลมเป็นระยะ
ซึ่งจะทำให้เกิดอาการไอหรือสำลักได้เล็กน้อย โดยผู้ป่วยสามารถหายใจได้ตามปกติ จากนั้นจะได้รับยานอนหลับทางหลอดเลือดดำเพื่อช่วยให้รู้สึกผ่อนคลาย ระหว่างตรวจผู้ป่วยจะได้รับการให้ออกซิเจนตลอดเวลาเพื่อให้ร่างกายได้รับปริมาณออกซิเจนที่เพียงพอ
ความเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น
มีเลือดออกหลังทำการตัดชิ้นเนื้อ ภาวะลมรั่วในช่องเยื่อหุ้มปอด ภาวะออกซิเจนในเลือดตํ่า ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ เป็นต้น
ภาวะแทรกซ้อนของการส่องกล้องหลอดลมมัก ไม่รุนแรงและหายไปได้เอง เช่น เจ็บคอ ไอปนเลือด หลัง การส่องกล้อง
ภายหลังการส่องกล้อง ผู้ป่วยจะได้รับการตรวจสังเกตอาการหากไม่มีความผิดปกติผู้ป่วยสามารถกลับบ้านได้ โดยไม่จำเป็นต้องนอนโรงพยาบาล และจะนัดมาฟังผลการตรวจตามขั้นตอนต่อไป
“ส่องกล้องตัดชิ้นเนื้อปอด มันตัดชิ้นใหญ่มากไหมค่ะ... หนูกลัวค่ะ”
จริงๆแล้วใช้คำว่า”ตัดชิ้นเนื้อ”อาจจะดูใหญ่ บางครั้งผมจะใช้คำว่า”สะกิดชิ้นเนื้อ”...
•ตัดชิ้นเล็กครับ.. ส่วนใหญ่จะพยายามตัดให้ได้อย่างน้อย 6 ชิ้น ( ขึ้นอยู่กับความยากง่าย)
•ก้อนที่ตัดออกมาเพียงพอสำหรับให้หมออ่านชิ้นเนื้อได้
• จากรูปจะเห็นว่าก้อนเล็กเมื่อเทียบกับการผ่าตัดปอดแบบสมัยก่อน

นำชิ้นเนื้อส่งไปยังห้องปฏิบัติการณ์ จะมีการตรวจสอบเซลล์นั้น ๆ ด้วยการส่องกล้องจุลทรรศน์โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อชี้ชัดความผิดปกติที่มี ยกตัวอย่างเช่นเซลล์มะเร็งจะมีหน้าตาและการแสดงออกที่ต่างจากเซลล์ปกติ
อีกทั้งอาจมีการตรวจตัวอย่างเนื้อเยื่อด้วยการทดสอบทางเคมีหรือพันธุกรรมเพิ่มเติม อย่างการมองหาโรคเรื้อรังที่ส่งต่อผ่านทางพันธุกรรม เป็นต้น

ข้อห้ามของการส่องกล้องหลอดลม
เสี่ยงภาวะเลือดออกง่าย
ภาวะเลือดออกง่ายที่ยังไม่ได้รับการแก้ไข
มีภาวะออกซิเจนในเลือดตํ่าอย่างรุนแรงที่แก้ไขไม่ได้
สัญญาณชีพไม่คงที่
ภาวะหัวใจขาดเลือด ภายใน 4-6 สัปดาห์
ผ้ปู่วยทมี่ภาวะ ภาวะความดันในกะโหลกศีรษะสูง
ภาวะความดันของเส้นเลือดแดงในปอดสูงอย่างรุนแรง
ภาวะอื่นๆ ขึ้นอยู่ดุลยพินิจของแพทย์ เช่น ภาวะไตวายที่มีของเสียคั่งในเลือด , ฝีในปอดบางราย,, ภาวะทุพโภชนาการรุนแรง เป็นต้น
การเตรียมผู้ป่วยก่อนส่องกล้อง
แพทย์จะอธิบายเหตุผลและความจําเป็นที่ต้องตรวจด้วยการส่องกล้องหลอดลมแก่ผู้ป่วยและญาติ
แพทย์ให้คาแนะนาเบื้องต้นแก่ผู้ป่วยและ ญาติเกี่ยวกับวิธีการเตรียมตัวก่อนมาส่องกล้อง โดยมีเนื้อหาดังนี้
งดน้าและอาหารทุกชนิดหลังเที่ยงคืน ก่อน วันส่องกล้องหรืออย่างน้อย 6 ชั่วโมง
ทําความสะอาดปากและฟันให้เรียบร้อย
วันส่องกล้องต้องพาญาติมาด้วย 1 ท่าน
3. ประวัติยาเดิมของผู้ป่วยว่าจําเป็นต้องกินยาหรือหยุดยาหรือไม่ เช่น
ควรหยุดยาละลายลิ่มเลือด เช่น warfarin และ ยาต้านเกล็ดเลือดบางชนิด เช่น clopidrogrel เป็นต้น ระยะ เวลาขึ้นอยู่กับการพิจารณาของแพทย์
ไม่ควรหยุดยาลดความดันโลหิตมื้อตอนเช้าวันส่องกล้อง หลังกินยาให้ดื่ม้ํ้าตามน้อยๆ ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของแพทย์ด้วย
หยุดยาเบาหวานตามคําสั่งของแพทย์ เนื่องจากอาจทําให้เกิดภาวะนํ้าตาลในเลือดตํ่าได้
อาจจําเป็นต้องให้ส่วนประกอบของเลือดตามคําสั่งของแพทย์ กรณีที่ผู้ป่วยมีความเสี่ยงต่อการเกิดเลือดออกง่าย
ในอดีต การพิสูจน์สาเหตุของก้อนในปอด บ่อยครั่งจะต้องอาศัยการผ่าตัดเพื่อเอาก้อนเนี่อออกมา ซี่งจะสามารถให้การวินิจฉยัและรักษาได้ในการผ่า ตัดคร้ังเดียว อย่างไรก็ตาม การผ่าตัดเป็นห้ตถการใหญ่ที่ ต้องดมยาสลบ ผู้ป่วยต้องพักฟื่นนาน ซึ่งเป็นการเสียเนื้อปอดที่อาจหายได้ไปโดยเปล่าประโยชน์ ดังนั้น การทราบถึง สาเหตุของก้อนในปอดได้โดยใช้การส่องกล้องตรวจทางเดินหายใจด้วยกล้องทําให้ผู่ป่วยมีการเจ็บปวดหรือลําบากน้อยที่สุด และฟื่นตัวเร็วที่สุดจึงเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ ซึ่งในปัจจุบันการส่องกล้องตรวจ หลอดลมชนิดนี้ได้มีการพัฒนาทั้งวิธีการและเครื่องมือ เพื่อช่วยให้หัตถการได้ข้อวินิจฉัยที่ถูกต้องแม่นยำและ ปลอดภัยสำหรับผู้ป่วยมากขึ้น การส่องกล้องตรวจหลอดลมนั้นเป็นการตรวจที่มีความปลอดภัย พบภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้น้อย ซึ่งผู้ป่วยจะได้รับประโยชน์จากการส่องกล้องเพื่อการวินิจฉัยโรค
Comments